Delcious Icecream

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อัคคีภัย

อัคคีภัย หรือ ภัยที่เกิดจากเพลิงไหม้ 
หมายถึง สาธารณภัยประเภทหนี่งที่เหิดจากไฟ  ไฟเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่ให้
ความ ร้อน  ความร้อนของไฟที่ขาดการควบคุม ดูแล  จะทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไฟตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิง เกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง  หากปล่อยเวลาของ การลุกไหม้ให้นานเกินไป จะทำให้เกิดการติดต่อลุกลามมากยิ่งขึ้น
สภาวะของของไฟจะรุนแรงมากขึ้น ถ้าหากการลุกไหม้ มีเชื้อเพลิงหนุน หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามาก
ความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น
          สิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย  หมายถึง  เชื้อเพลิง สารเคมี  หรือวัตถุใดๆ ทั้งที่มีสถานะเป็นของแข็ง  ของเหลว หรือ
ก๊าซ  ที่อยู่ในภาวะพร้อมจะเกิดการสันดาปจาการจุดติดใดๆ หรือการสันดาป เอง

ธรรมชาติของไฟ...คืออะไร
          ไฟเกิกขึ้จาการรวมตัวของอค์ประกอบ 3 องค์ประกอบในสภาวะที่เหมาะสม  ถ้าขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง
          ไฟก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ องค์ประกอบเหล่านี้ ได้แก่

          เชื้อเพลิง  เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดการลุกไหม้มาจากสารเคมี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือสารอนินทรีย์เคมี  และอินทรีย์เคมี
          - สารอนินทรีย์เคมี เป็นารที่เป็นพวกแร่ธาตุที่ไม่ได้เกิดจากสิ่งมีชีวิด และมีมีส่วนประกอบของคาร์บอน เช่น โปตัสเซียมไนเตรท โซเดียม กรดต่างๆ เป็นต้น
          - สารอินทรีย์เคมี เป็นารที่มาจากสิ่งที่มีชีวิต มีส่วนประกอบของธาตุคาร์บอน เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

          ความร้อน  เป็นสิ่งที่ทำให้อุณหภูมิของเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึงจุดติดไฟทำให้องค์ประกอบของการเกิดไฟ หรือเรียกว่า
ปฎิกริยาการสันดาป  เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม  ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมจะมีจุดติดไฟไม่เหมือนกัน

          ออกซิเจน  บรรยากาศทั่วๆ ไปมีไนโตรเจน 79.04% ออกซีเจนผสมอยู่ 20.93% และคาร์บอนไดออกไซด์ 0.03%
โดยออกซิเจนจะเป็นตัวทำให้เกิดการเผาไหม้


วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

น้ำท่วม/อุทกภัย (ภัยพิบัติ)


อุทกภัย (ภัยพิบัติ) 
อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจาก พายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ
ชนิดของอุทกภัย  
 1.น้ำป่าหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา ต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์จนได้รับความเสียหาย.

    2.น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร

    3.คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
ผลกระทบจากน้ำท่วม
1. เกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์

2. เส้นทางคมนาคม และพืชผลทางการเกษตรเสียหาย
การเตรียมการและการป้องกัน
1.ติดตามข่าวสารและการพยากรณ์อากาศอย่างต่อเนื่อง

2.เตรียมกระสอบทรายเพื่อเสริมคันดินกั้นน้ำ

3.วางแผนการอพยพหนีภัย เก็บของมีค่า เอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย

4.เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์ไว้ในยามฉุกเฉิน

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่สอง
    สงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2) เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์โลก
    ต้นเหตุที่แท้จริงของ สงครามครั้งนี้ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและ แสนยนิยม เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียว กัน แต่แยกกันด้วย การหยุดยิง
     การต่อสู้มีขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้


ขั้วโลกเหนือ
N. North Pole
def:[บริเวณปลายสุดของแกนโลกที่มีละติจูด 90 องศาเหนือ]
ant:{ขั้วโลกใต้}
sample:[เขาพาเรือลำใหญ่มุ่งหน้าไปยังขั้วโลกเหนืออย่างภาคภูมิใจ]
ขั้วโลกใต้
N. South Pole
def:[บริเวณปลายสุดของแกนโลกที่มีละติจูด 90 องศาใต้]
ant:{ขั้วโลกเหนือ}
sample:[เมื่อถึงฤดูหนาวนกนางนวลแกลบจะอพยพลงไปอยู่ที่ขั้วโลกใต้]

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สหกรณ์


ประวัติสหกรณ์สากล
บิดาสหกรณ์โลก
สหกรณ์ถือกำเนิดขึ้นในยุโรปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก การกว้านซื้อที่ดินส่งผล ให้ประชาชนชั้นรากฐานไร้ที่ดินทำกิน ละทิ้งถิ่นฐานเข้าไปขายแรงงานในเมืองหลวง ความยากจนยิ่งโหมกระหน่ำ จากสังคมที่เคยเกื้อกูลดังเช่นในชนบทได้จางหายไปทุกคนต้องต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด ถึงกระนั้นความพยายามแสวงหาวิธี สร้างสังคมใหม่ควบคู่กันไปกับระบบเศรษฐกิจที่ ยั่งยืนได้ใช้เวลาเนิ่นนานจึงคิดค้นวิธีการได้สำเร็จ เรียกว่า" การสหกรณ์ " และถือว่า โรเบิร์ด โอเวน เป็นบิดาสหกรณ์โลก
สหกรณ์แห่งแรกของโลก
ความลำบากยากแค้นของผู้ใช้แรงงานในโรงงานท่อผ้า ณ เมืองรอชเดล ประเทศอังกฤษ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการซื้อสินค้าเงินเชื่อรวมกับดอกเบี้ยสูง และการจ่ายค่าจ้างเป็นสิ่งของ เป็นแรงผลักดันให้มีการแสวงหาทางรอด ตามวิธีสหกรณ์ คือร้านสหกรณ์ รอชเดล โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง มีข้อตกลงร่วมกันในหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า กฎ 10 ประการ และกฎนี้เป็นแม่บทของ หลักการสหกรณ์ สหกรณ์นี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลก การดำเนินงานของสหกรณ์รอชเดล ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือสมาชิกเฉพาะในด้านเครื่องโภคภัณฑ์เท่านั้น ยังมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ใช้แรงงานมีความรู้น้อย การศึกษาจึงมีความจำเป็น โดยได้เปิดสอน ในวิชาการต่าง ๆ แก่สมาชิกในยามว่าง ก็คือ เวลากลางคืน จึงเรียกว่า " โรงเรียนกลางคืน "
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ความลำบากยากเข็ญที่กระจายอยู่ทั่วไป เยอรมันก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำเนิดสหกรณ์เครดิต (สหกรณ์สินเชื่อ หรือ ธนาคารสหกรณ์) ซึ่งมี 2 ประเภท คือ สหกรณ์ในเมือง มีเฮอร์มัน ชุลซ์ - เดลิทซ์ (Hermanu Schulze - Delitzsch) เป็นผู้ให้กำเนิดสหกรณ์ สำหรับประชาชนผู้ยากจนในเมือง และ สหกรณ์เครดิตในชนบท มีฟรีดริช วิลเฮล์ม ไรฟ์ไฟเซน (Friedrich Wilhelm Raiffisen) เป็นผู้ให้กำเนิด ในการจัดตั้งสหกรณ์สำหรับชาวนา โดยได้ขยายไปทั่วเยอรมนีและสหกรณ์เหล่านี้ได้ร่วมตัวกันก่อตั้ง สถาบันกองทุนกลางในภูมิภาคต่าง ๆในที่สุดได้ก่อตั้งสถาบันกลางระดับชาติ
วันสหกรณ์สากล (International Cooperativees Day)
สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทหลายระดับรวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น " ขบวนการสหกรณ์โลก " มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ ( องค์การ ICA ) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิชเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2538 องค์การ ICA ได้ปรับปรุงและประกาศหลักการเป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น " วันสหกรณ์สากล "
ประวัติสหกรณ์ไทย บิดาและสหกรณ์แรกของไทย
สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "
ขบวนการสหกรณ์ไทย
การสหกรณ์ได้แพร่หลายเริ่มตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 เพื่อทดลอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 เป็นพระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับแรกที่ส่งเสริมให้สหกรณ์ร่วมกลุ่ม กันก่อตั้งชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ก็ได้เกิดขึ้นโดยการรวม กลุ่มกันของสหกรณ์ท้องถิ่น ได้จดทะเบียนเป็นประเภทชุมชนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 มีพระบรมราช โองการ ประกาศพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มีผลทำให้สันนิบาตสหกรณ์ แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ เลิกไป และให้มีการก่อตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยขึ้นแทนโดยผลแห่งกฎหมายสหกรณ์ฉบับนั้นพระราช บัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และกอง ทุนพัฒนาสหกรณ์ ( อยู่ไต้ พรบ. ปี 2511 อยู่แล้ว )
การจัดรูปองค์การของสหกรณ์
- สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ เพื่อดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมทางสังคม - สหกรณ์ไม่ใช้บริษัทเอกชน เพื่อดำเนินธุรกิจแสวงหาผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้น - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ ไม่เป็นกระทรวงทะบวง และกรมต่าง ๆ - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การ เพื่อสร้างสีสันทางการเมือง ซึ่งไม่ได้มอบบริการที่บริสุทธ์เหมาะสมดั่งที่สมาชิกต้องการ " สหกรณ์ " ตามความหมายขององค์การสัมพันธ์ภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ คือ องค์การอิสระของบุคคลซึ่งร่วมกัน ด้วย ความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการ และจุดมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยการดำเนิน วิสาหกิจที่ พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกันบริหารงาน และควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย
หลักการสหกรณ์ 7 ประการ
1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ
2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
5.การศึกษา ฝึกอบรม และข่าวสาร
6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ 
7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน
หน้าที่ของรัฐบาลต่อสหกรณ์
สหกรณ์เป็นองค์การปกครองตนเองโดยไม่ถูกควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล และบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสหกรณ์ คือ การออกกฎหมาย นโยบาย การจดทะเบียน การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำและการชำระบัญชี
ความเสมอภาคเท่าเทียมของสมาชิก
สหกรณ์เป็นองค์การที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนองค์การรูปแบบใด เพราะการดำเนินการสหกรณ์จะมีกำไรหรือขาดทุนสมาชิกคือ ผู้รับที่ได้รับการแบ่งปันผลการดำเนินการอย่างเท่าเทียมกัน เพราะว่า สมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์ การมารับบริการจากสหกรณ์ของสมาชิกเป็นชัยชนะของสมาชิก นี่คือความแตกต่าง ถ้าสมาชิกผู้ถือหุ้นไม่มาใช้บริการขององค์สหกรณ์ ก็ไม่ใช่สหกรณ์ เพราะการรวมกันเป็นสหกรณ์ คือความต้องการใช้บริการของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของตน นั่นหมายถึง สมาชิกแต่ละคนเพื่อทุกคนและทุกคนเพื่อแต่ละคน (Each for all and All for each)
ปรัชญาสหกรณ์
   การช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ความรับผิดชอบร่วมกัน ยึดหลักประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเป็นธรรม การรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการพึ่งพาอาศัยกัน จริยธรรมสหกรณ์
   ความซื่อสัตย์
โปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม การเอาใจใส่ผู้ด้อยกว่า วัตถุประสงค์ของสหกรณ์
สหกรณ์มีเป้าหมายหลักคือการทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกดีขึ้นและวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ คือการทำให้เป้าหมายของสหกรณ์บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมด้วยวิธีการสหกรณ์
โครงสร้างการบริหารจัดการสหกรณ์
สมาชิกสหกรณ์ประกอบด้วย บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลในกรณีสหกรณ์ชั้นสูง การสมัครเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า และการถือหุ้นในสหกรณ์ รวมทั้งสมาชิกคือผู้กำหนดเงื่อนไข หรือข้อบังคับในการดำเนินงานสหกรณ์ในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ จัดจ้างผู้สอบบัญชี และหน้าที่อื่นๆ นี่คือการควบคุมดูแลตรวจสอบ ตามหลักประชาธิปไตยและรับผิดชอบ ร่วมกันของบรรดาสมาชิก
องค์ประกอบการบริหารจัดการ
การเลือกตั้งผู้แทนในการบริหารจัดการองค์กร และเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของสมาชิก รวมถึงการออกข้อบังคับของสหกรณ์ การมอบหมายนโยบายให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ไปดำเนินการ คณะกรรมการดำเนินการมีหน้าที่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ คือผู้จัดการสหกรณ์เท่านั้น เป็นผู้ทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบ บริหารสหกรณ์ตามนโยบายที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดก็คือการให้บริการแก่มวลสมาชิกสหกรณ์นั่นเอง
การลงทุนในสหกรณ์
สมาชิกเป็นผู้ออกทุนในสหกรณ์ ด้วยการถือหุ้นเพื่อใช้เงินทุนนั้นในการดำเนินธุรกิจด้วยการจัดหาบริการด้านต่างๆ ให้แก่มวลสมาชิก หากเงินทุนไม่เพียงพอ สามารถ จัดหาเงินทุนด้วยการกู้ยืม การขอรับการอุดหนุนจากแหล่ง ต่างๆ ได้แต่การบริหารจัดการเงินทุนต้องอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างสินทรัพย์ กับ หนี้สินและทุนสหกรณ์เป็นองค์การเศรษฐกิจ จึงต้องมีความสามารถในการบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิผล และเป็นไปอย่างเปิดเผย มีการตรวจสอบบัญชี และการตรวจสอบกิจการ ซึ่งสามารถตรวจสอบโดย เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือขบวนการสหกรณ์ โดยจัดจ้างบริษัทเอกชนภายนอกก็ได้
การดำเนินการธุรกิจสหกรณ์
สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และมีความรู้ความเข้าใจใน
นโยบายแห่งรัฐ กฎหมายต่างๆ รู้วิธีการและ เทคนิคต่างๆ เพราะการบริหารจัดการสหกรณ์ที่ควบคุมโดยสมาชิกนั้น ต้องใช้ความชำนาญการอย่างยิ่งในการบริหาร เงินทุนบุคลากร ทรัพยากร